วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

ปัญญาเจตสิกกับการเจริญสติปัฎฐาน

ปัญญาเจตสิกกับการเจริญสติปัฎฐาน


ความหมายของปัญญาเจตสิก
           คำว่า ปัญญา มาจาก ป + ญาป = โคยประการ ญา = รู้ธรรมชาติ ชื่อว่า ปัญญาเพราะอรรถว่า รู้โดยประการ คือ หยั่งรู้เกี่ยวกับว่าเป็น ของไม่เที่ยง เป็นต้น[๑]
          ปัญญาเจตสิกมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปัญญินทรีย์คือ ธรรมชาติที่รู้สภาพธรรมโดยทั่ว ๆ ไปตามความเป็นจริง ได้แก่ ธรรมชาติที่รู้เหตุผลของกรรม ตลอดจนถึงรู้เรื่องอริยสัจนอกจากนี้ปัญญาเจตสิกยังมีชื่อเรียก คือ วีมังสิทธิบาท,[๒]ปัญญินทรีย์,[๓]ปัญญาพละ,[๔]อโมหะ,[๕]ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์,[๖]สัมมาทิฏฐิ,[๗]โยนิโสมนสิการ,[๘] เป็นต้นตามกิจหน้าที่ของตน
          ลักขณาทิจตุกกะของปัญญาเจตสิก
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคและตาราวิชาการต่าง ๆ ได้แสดงสภาวธรรมของปัญญาโดยลักขณาทิจตุกกะ เหตุเพราะปัญญาเจตสิก มีสภาวะเป็นนามธรรมจับต้องหรือสัมผัสตามสภาวะปกติไม่ได้ แต่สามารถรับรู้สภาวธรรมของปัญญาได้ด้วยใจ (ธรรมารมณ์) คือ ลักษณะ รสปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน เรียกว่า ลักขณาทิจตุกกะ ว่าโดยวิสุทธิ ๗ เรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ที่มีรูปนามเป็นอารมณ์ว่าโดยญาณ ๑๖ จัดเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ เป็นปัญญาที่กาหนดรู้เห็นรูปนามตามสภาวะที่เป็นจริง
                   ลักขณาทิจตุกกะของปัญญาเจตสิก
          ธมฺมสภาวปฏิเวธลกฺขณา มีการรู้แจ้งซึ่งสภาวธรรม เป็นลักษณะ
          โมหนฺธการวิทฺธํสนรสา มีการกาจัดความมืด เป็นกิจ
          อสมฺโมหปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่หลง เป็นผล
          สมาธิปทฏฺฐานา มีสมาธิ เป็นเหตุใกล้[๙]
          สรุปความว่า ปัญญาเจตสิกที่มาในคัมภีร์วิสุทธิมรรคและตาราวิชาการต่าง ๆ แสดงในลักษณะของปัญญาเจตสิกโดย ลักขณาทิจตุกกะเพื่อให้รู้ถึงสภาวธรรมของปัญญาเจตสิก ที่ปรากฏเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติวิปัสสนา และรู้ชัดลงไปได้ว่าสภาวธรรมของปัญญาเจตสิกได้ปรากฏเกิดขึ้นแล้วด้วยเหตุว่า ปัญญาเจตสิกมีสภาวะเป็นนามธรรม ไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยทางรูปธรรมมีทางตาเป็นต้น ดังนั้นท่านจึงแสดงโดยลักษณะ คือ ลักษณะเฉพาะตน รส คือ หน้าที่ หรือ ปัจจุปัฏฐาน คือ ผลหรืออาการปรากฏ ปทัฏฐาน คือ เหตุที่ใกล้ชิด เพราะสภาวะเหล่านี้สามารถรับรู้ด้วยใจเท่านั้น และการปฏิบัติวิปัสสนาให้รู้สภาวะรูปนามที่แท้จริงได้นั้นต้องอาศัยการเรียนรู้ขั้นทิฏฐิวิสุทธิจึงจะรู้เห็นรูปนามตามสภาวะที่เป็นจริงได้
          ประเภทของปัญญา
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้กล่าวถึงประเภทแห่งปัญญาว่ามี ๑, , , และ ๔ อย่างโดยลำดับ ดังต่อไปนี้ คือ
ประเภทที่ ๑
          ปัญญา มี ๑ อย่าง คือ เมื่อว่าโดยสภาวลักษณะคือ การแทงตลอดสภาวธรรม ปัญญามีอย่างเดียวเท่านั้น[๑๐]
ประเภทที่ ๒
          ปัญญา ๒ อย่าง, มี ๕ จตุกะ คือ เมื่อว่าโดยอานาจ
๑. ปัญญาที่สัมปยุตด้วยโลกียมรรค เรียกว่า โลกียปัญญา ๑, ปัญญาที่สัมปยุตด้วยโลกุตตรมรรค เรียกว่า โลกุตตรปัญญา ๑
๒. ปัญญาที่เป็นอารมณ์แห่งอาสวะทั้งหลาย (ปัญญาสัมปยุตจากอาสวะ) เรียกว่าสาสวปัญญา, ปัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์แห่งอาสวะเหล่านั้น (ปัญญาวิปปยุตจากอาสวะ) เรียกว่า อนาสวปัญญา,
๓. ปัญญาในการกาหนดอรูปขันธ์ ๔ ของผู้ใคร่จะเริ่มวิปัสสนา เรียกว่า นามววัฏฐานปัญญา หรือ ปัญญาในการกาหนดรู้นาม, ปัญญาในการกาหนดรูปขันธ์ใด เรียกว่า รูปววัฏฐานปญญาหรือ ปัญญาในการกำหนดรู้รูป
๔. ปัญญาในกามาวจรกุศลจิต และในมรรคจิต เรียกว่า โสมนัสสหคตปัญญา คือปัญญาที่สหรคตด้วยโสมนัส, และปัญญาในกามาวจรกุศลจิต และในมรรคจิต เรียกว่า อุเบกขาสหคตปัญญา คือ ปัญญาที่สหรคตด้วยอุปเปกขา.
๕. ปัญญาที่ในปฐมมรรค เรียกว่า ทัสสนภูมิปัญญา, ปัญญาที่ในมรรค ๓ ที่เหลือ เรียกว่า ภาวนาภูมิปัญญา[๑๑]
ประเภทที่ ๓
          ปัญญา ๓ อย่าง, มี ๔ จตุกะ ดังนี้
๑. ปัญญาที่ไม่ได้ฟังจากผู้อื่น เพราะเป็นปัญญาสาเร็จด้วยอานาจความคิดของตนเรียกว่า จินตามยปัญญา , ปัญญาที่ได้จากการฟังจากคนอื่น เพราะเป็นปัญญาที่สาเร็จด้วยการฟัง เรียกว่า สุตมยปัญญา, ปัญญาที่ถึงขั้นอัปปนา สาเร็จด้วยอานาจภาวนาโดยประการอย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า ภาวนามยปัญญา
๒. ปัญญาที่ปรารภที่เป็นกามาวจรทั้งหลายเป็นไป เรียกว่า ปริตรตารัมมณปัญญา(ปัญญาปริตรตารมณ์), ปัญญาที่ปรารภที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจรทั้งหลายเป็นไป เรียกว่ามหัคคตารัมมณปัญญา (ปัญญาในมหัคคตารมณ์), ปัญญาที่ปรารภพระนิพพานเป็นไป เรียกว่าอัปปมาณาตารัมมณปัญญา(ปัญญาอัปปมาณารมณ์)
๓. ปัญญาความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ในการละโดยไม่เกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมและความตั้งอยู่แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เรียกว่า อายโกศล, ปัญญารู้ว่า เมื่อเรามนสิการธรรมเหล่านี้อยู่ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิด เรียกว่า อปายโกศล, ปัญญาที่เป็นอุบายในกรณีย์นั้น ๆทั้งหมด เรียกว่า อุปายโกศล
๔. วิปัสสนาปัญญาที่ยึดมั่นอยู่ภายใน เรียกว่า อัชฌัตตาภินิเวศปัญญา, วิปัสสนา ปัญญาที่ยึดมั่นอยู่ภายนอก เรียกว่า พหิทธาภินิเวสปัญญา, วิปัสสนาปัญญาที่ยึดมั่นอยู่ภายใน และภายนอก เรียกว่า อัชฌัตตพหิทธาภินิเวสปัญญา[๑๒]
ประเภทที่ ๔
          ปัญญา ๔ อย่าง, มี ๒ จตุกะดังนี้
๑. เป็นญาณในอริยสัจ ๔ คือ
ปัญญาที่รู้ทุกข์ เรียกว่า ญาณในทุกข์, ปัญญาที่รู้ทุกขสมุทัย เรียกว่า ญาณในสมุทัย,
ปัญญาที่รู้ทุกขนิโรธ เรียกว่า ญาณในทุกขนิโรธ,ปัญญาที่รู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เรียกว่า ญาณ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา[๑๓]
๒. ความแตกฉานในวัตถุ ๔ อย่าง คือ
ความรู้ในอัตถะเรียกว่า อัตถปฏิสัมภิทา, ความรู้ในธัมมะ หรือญาณในสมุทัยเรียกว่าธัมมปฏิสัมภิทา, ความรู้ในนิรุตติ เรียกว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความรู้ในญาณ เรียกว่า ปฏิภานปฏิสัมภิทาโดยมีรายละเอียดดังนี้
          อรรถปฏิสัมภิธา ได้แก่ ปัญญาอันแตกฉานในผล คือ ผลที่เกิดจากเหตุ วิบาก กิริยา นิพพาน และอรรถกถาแห่งพระบาลี
          ธรรมปฏิสัมภิธา ได้แก่ ปัญญาอันแตกฉานในเหตุ คือ เหตุทั้งหมดที่ก่อให้เกิดผลกุศล อกุศล อริยมรรค และพระบาลี
          นิรุตติปฏิสัมภิทา ได้แก่ ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ คือ ภาษาบาลี
          ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ได้แก่ ปัญญาแตกฉานในญาณทั้งสามข้างต้น
          สรุปความว่า ปัญญามีหลายระดับโดยแต่ละระดับนั้นมีชื่อเรียกต่างกัน มีกิจหน้าที่เหมือนกันและต่างกัน แต่เมื่อว่าโดยองค์ธรรมสภาวะแล้ว ปัญญามีองค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิกอย่างเดียวกันหมด, และปัญญาเจตสิก หมายถึง ธรรมชาติที่รู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงได้แก่ การรู้เห็นรูปนาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีสาระ ไม่มีแก่นสาร ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ตัวตนเป็นอนัตตา
          ระดับของปัญญา
ปัญญามี ๕ ขั้น
๑. กัมมัสสกตาปัญญา เป็นปัญญาขั้นต้น ปัญญาที่รู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของของตน
๒. ฌานปัญญา คือ ตอนที่กาลังจะเข้าฌาน จิตยังมีมหากุศลอยู่ พอปฏิบัติไป ๆจิตก็เริ่มสงบนิวรณ์ก็สงบ ใจก็ติดแน่นอยู่ในฌาน ปัญญาก็ต้องมีด้วย ผู้ที่จะได้ฌานต้องปฏิสนธิแบบมีปัญญามาแต่กาเหนิด จึงจะทาฌานได้
๓. วิปัสสนาปัญญา คือ เห็นโดยประการต่าง ๆ การเห็นมี ๒ อย่าง คือปัญญาที่เห็นแจ้งเป็นพิเศษ คือ เห็นว่าเป็นรูปเป็นนาม ไม่ใช่เรา เราไปยึดติดว่าเป็นตัวเราอันที่จริงมีแต่กายกับใจ รวมกันเข้าเป็นเราวิปัสสนาปัญญาที่เห็นความจริงของนามรูปที่เกิดดับที่เรียกว่าไตรลักษณ์ คือ ลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ อนิจจัง ความไม่เที่ยงเพราะเกิดดับ ทุกขัง ทนไม่ได้เพราะเกิดดับ อนัตตา ไม่มีใครบังคับบัญชาได้ เพราะเกิดดับ
๔. มรรคปัญญา ปัญญาในมรรคจิต ทาลายกิเลสเป็นสมุทเฉทประหาน (ทาลายเด็ดขาด)
๕. ผลปัญญา เสวยผลหลังจากปัญญาปราบกิเลสแล้ว[๑๔]
          สรุปความว่า ระดับของปัญญามี ๕ ขั้น คือ กัมมัสสกตาปัญญา ฌานปัญญา
วิปัสสนาปัญญา มรรคปัญญา ผลปัญญา ระดับของปัญญาจัดแบ่งตามผลของธรรม
          กิจหน้าที่ของของปัญญาเจตสิก
ปัญญาเจตสิกมีกิจหน้าที่ คือ ประกอบกันกับจิต และปรุงแต่งจิตให้เป็นไปตามอานาจ
การปรุงแต่งโดยมีเนื้อหาดังนี้
ตามหลักสัมปโยคนัย คือ การยกเจตสิกขึ้นเป็นประธาน แสดงการประกอบโดยเฉพาะๆ ของเจตสิกที่มีสภาพเกิดพร้อมกันกับจิตปัญญาเจตสิก ประกอบได้ในจิต ๔๗ หรือ ๗๙ คือประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวง ประกอบกับมหาวิปากญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวงประกอบกับมหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวง ประกอบมหัคคตจิต ๒๗ ดวง ประกอบ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ ดวง[๑๕]
          การแสดงตามหลักตทุภยมิสกนัย ปัญญาเจตสิกประกอบร่วมกับเจตสิกด้วยกัน มีเจตสิกประกอบได้ ๓๗ ดวง โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
          ปัญญาเจตสิก ประกอบกับเจตสิกกลุ่มอัญญสมานเจตสิก ๑๓, และกลุ่มโสภณเจตสิก๒๔ (เว้นตนเอง) เพราะเมื่อกล่าวตามสัมปโยคนัย ปัญญานี้ประกอบกับจิตที่เป็นญาณสัมปยุตตจิตทั้งหมด จิตที่เป็นญาณสัมปยุตต์นั้นมีเจตสิกประกอบ ๓๘ ฉะนั้น ปัญญาเจตสิก จึงมีเจตสิกประกอบ ๓๗ ดวง(เว้นตนเอง)
          สรุปความว่า ปัญญาเจตสิก เป็นเจตสิกในฝ่ายโสภณราสี หรือฝ่ายกุศล ดังนั้น ปัญญาเจตสิก จึงไม่ประกอบร่วมกันกับจิตและเจตสิกที่เป็นฝ่ายอกุศล ปัญญาเจตสิก ประกอบร่วมกันกับจิต ๔๗ หรือ ๗๙, และประกอบร่วมกันกับเจตสิก ๓๗ ดวง
          ความสำคัญของปัญญาเจตสิก
          ปัญญามีประโยชน์ต่อการการบรรลุธรรมปัญญาทางพระพุทธศาสนาเป็นปัญญาขั้นสูงสุด คือ ปัญญาระดับภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เข้าไปรู้ทุกข์หรือการกำหนดรู้ทุกข์ การไม่รู้ทุกข์จัดเป็นอวิชชา เพราะอวิชชา คือ ความไม่รู้ธรรมตามความเป็นจริง และทุกข์ตามพุทธประสงค์ ได้แก่ ทุกขสัจหรือทุกขอริยสัจ การกำหนดรู้ทุกข์ เพื่อละสมุทัย ทำนิโรธให้แจ้ง ทำมรรคให้เกิดขึ้น และบรรลุอริยสัจแจ้งพระนิพพานในที่สุดดังนั้นปัญญาต้องมีการพัฒนาให้เกิดขึ้น ตามลำดับ และจะเจริญขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยวิธีการพัฒนาให้เกิดขึ้น โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
          ขั้นตอนการการเจริญปัญญา
          ในลำดับแรก ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาต้องเรียนรู้ ภูมิของปัญญาก่อนหรือที่เรียกว่าวิปัสสนาภูมิวิปัสสนาภูมิมี ๖ ประเภท ได้แก่ ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๒๒,อริยสัจ ๔, ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ตามลำดับหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง จนมีความรู้ความเข้าใจใน ภูมิ
ประเภทต่าง ๆ จึงจะสามารถลงมือปฏิบัติได้ขั้น
          ตอนที่ ๒ ต้องเจริญวิปัสสนา มูลคือ รากฐานของวิปัสสนา ได้แก่ สีลวิสุทธิและจิตตวิสุทธิ, ศีลวิสุทธิคือ ความบริสุทธิ์แห่งศีล (ศีล) จิตตวิสุทธิคือความบริสุทธิ์แห่งจิต(ขณิกสมาธิ)
          ขั้นตอนที่ ๓ ปฏิบัติวิปัสสนาตาม วิสุทธิ ๕อันเป็น สรีระของปัญญา คือ กำหนดรูปนามที่ได้เรียนรู้มา จนเข้าถึงวิปัสสนาทั้ง ๕ คือ
          ทิฏฐิวิสุทธิ ได้แก่ ความบริสุทธิ์แห่งความเห็นรูปนาม
          กังขาวิตรณวิสุทธิ ได้แก่ ความบริสุทธ์ของญาณที่ข้ามพ้นความสงสัย คือ ข้ามพ้นความสงสัยในรูปนามและรู้เหตุปัจจัยของรูปนาม
          มัคคามัคคญาณทัศสนวิสุทธิ ได้แก่ ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณว่าเป็นมัคคปฏิปทา (ทางที่จะไปหรือปฏิบัติต่อไป) และไม่ใช่มรรคปฏิปทา คือ รู้ทางถูกก็ปฏิบัติต่อไปและทางผิด คือ ไม่ยึดติดใน วิปัสสนูปกิเลสแล้วกำหนดรูปนามจนเจริญขึ้นต่อไป
          ปฏิปทาญาณทัศสนวิสุทธิ ได้แก่ ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณอันเป็นเครื่องดำเนินไปสู่มรรคปฏิปทาโดยส่วนเดียว คือ มีปัญญาเห็นรูปนาม เกิดดับ,เห็นรูปนามเป็นภัยที่น่ากลัว, เห็นโทษของรูปนาม, เกิดความเบื่อหน่ายในรูปนาม, อยากหนีให้พ้นจากรูปนาม, พิจารณาไตรลักษณะของรูปนามอย่างกว้างขวาง, หาทางแล้ววางเฉยต่อรูปนาม, และถึงพร้อมด้วยกำลังเพื่อให้มรรคญาณเกิด
          ญาณทัศสนวิสุทธิ ได้แก่ ความบริสุทธิในการเห็นแจ้งโดยส่วนเดียวของญาณปัญญาที่ทำลายโคตรของปุถุชน แล้วเข้าสู่โคตรของพระอริยเจ้าต่อไป๔๖
อานิสงส์ของปัญญา
ปัญญานั้น เมื่อกล่าวโดยพิสดารมีอานิสงส์มาก จนไม่สามารถจะนับได้ แต่เมื่อกล่าว
โดยย่อแล้ว ปัญญานั้น มีอานิสงส์อยู่เพียง ๖ ประการ คือ
๑. ให้ได้มนุษย์สมบัติ
๒. ให้ได้สวรรค์สมบัติ
๓. กาจัดกิเลสต่าง ๆ มีสักกายทิฏฐิ เป็นต้น
๔. เสวยรสแห่งอริยผล เป็นต้น
๕. สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้
๖. สำเร็จความอาหุไนยบุคคล คือ เป็นผู้ควรของคานับ เป็นผู้ควรของต้อนรับเป็นผู้ควรของทาบุญ เป็นผู้ควรทาอัญชลีและนาบุญของโลก[๑๖]
          สรุปความว่า ความสำคัญของปัญญาเจตสิก กระบวนการให้เกิดปัญญานั้นต้องศึกษาวิปัสสนาภูมิ ๖ให้เกิดความรู้และความเข้าใจเสียก่อนและลงมือปฏิบัติตาม มูลรากฐานของวิปัสสนา หรือ วิสุทธิ ๒ คือ ศีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ และปฏิบัติต่อเนื่องจนเข้าถึง วิสุทธิ ๕มีทิฏฐิวิสุทธิ เป็นต้น
          ความหมายปัญญาโดยทั่วไป หมายถึง ความรู้ทั่ว ปรีชาหยั่งรู้เหตุผลความรู้เข้าใจชัดเจน ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่วคุณโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้นปัญญา มีองค์ธรรม คือ ปัญญาเจตสิก ดังนั้นปัญญาและปัญญาเจตสิกจึงเป็นธรรมอันเดียวกัน เป็นธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด (จิตฺตนิสฺสิตลกฺขณ ) ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ธรรมชาติของปัญญาเจตสิกนั้นย่อมเกิดในจิตหรือย่อมประกอบในจิตเป็นนิตย์ปัญญาเจตสิก หมายถึง ธรรมชาติที่ทาให้จิตรู้เหตุผลแห่งความจริงของสภาวธรรมและทาลายความเห็นผิด หรือ เป็นเจตสิกที่มีความรู้เป็นใหญ่ปกครองซึ่งสหชาตธรรมทั้งปวงปัญญาเจตสิก เป็นเจตสิกในฝ่ายโสภณราสี หรือฝ่ายกุศล ดังนั้น ปัญญาเจตสิก จึงไม่ประกอบร่วมกันกับจิตและเจตสิกที่เป็นฝ่ายอกุศล ปัญญาเจตสิก ประกอบร่วมกันกับ จิต ๔๗หรือ ๗๙, และประกอบร่วมกันกับเจตสิกด้วยกันถึง ๓๗ ดวง
           ความสำคัญของปัญญา ปัญญามีหลายระดับ ตั้งแต่ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญาภาวนามยปัญญา โดยลาดับในการเจริญปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นนั้นย่อมขจัดเสียซึ่งทิฏฐิ กิเลส คือความเห็นผิด คิดว่ารูปนาม ขันธ์ ๕ เป็นเรา แล้วก็ถูกทาลายด้วยวิปัสสนาญาณ จนเข้าไปแจ้งพระนิพพาน ปัญญามีประโยชน์ต่อการการบรรลุธรรมปัญญาทางพระพุทธศาสนาเป็นปัญญาขั้นสูงสุด คือ ปัญญาระดับภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เข้าไปรู้ทุกข์หรือการกาหนดรู้ทุกข์ การไม่รู้ทุกข์จัดเป็นอวิชชา เพราะอวิชชา คือ ความไม่รู้ธรรมตามความเป็นจริง และทุกข์ตามพุทธประสงค์ ได้แก่ ทุกขสัจหรือทุกขอริยสัจ การกาหนดรู้ทุกข์ เพื่อละสมุทัย ทานิโรธให้แจ้ง ทามรรคให้เกิดขึ้น และบรรลุอริยสัจแจ้งพระนิพพานในที่สุดดังนั้นปัญญาต้องมีการพัฒนาให้เกิดขึ้นตามลาดับ และจะเจริญขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยวิธีการพัฒนาให้เกิดขึ้น
          สรุปว่า ปัญญาเจตสิกธรรม คือ ธรรมชาติที่รู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง เมื่อว่าโดยลักขณาทิจตุกกะ คือ มีการรู้แจ้งซึ่งสภาวธรรม เป็นลักษณะ, มีการกาจัดความมืด (อโมหะ) เป็นกิจ, มีความไม่หลง (ติดอยู่) เป็นผล, มีสมาธิ เป็นเหตุใกล้ ปัญญามีหลายระดับ ตั้งแต่ สุตตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา โดยลำดับในการเจริญปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นนั้นย่อมขจัดเสียซึ่งทิฏฐิ กิเลส คือ ความเห็นผิด คิดว่ารูปนาม ขันธ์ ๕ เป็นเรา แล้วก็ถูกทำลายด้วยวิปัสสนาญาณ จนเข้าไปแจ้งพระนิพพาน
         

          ปัญญาเจตสิกกับการเจริญสติปัฎฐาน
          การเจริญสติปัฏฐาน เมื่อว่าโดยการปฏิบัติ อาตาปี (ความเพียร) สัมปชาโน(สัมปชัญญะ) สติมา (สติ) หรือ ความเพียร สัมปชัญญะ สติ เกิดขึ้นในขณะกาหนด รูป-นาม ที่กำลังปรากฏอยู่นั้น อาตาปี มีองค์ธรรม ได้แก่ วิริยะเจตสิก หรือ วิริยเจตสิกที่ในสัมมัปปธาน ๔,สัมปชาโน หรือสัมปชัญญะ มีองค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิก หรือ เป็นปัญญาที่ในสัมปชัญญะ๔ สติมา มีองค์ธรรม ได้แก่ สติเจตสิก ที่ระลึกรู้รูปนามในสติปัฏฐาน ๔ ธรรมทั้งสามสรุปลงแล้ว คือ ศีล สมาธิ ปัญญา จะเห็นได้ว่าสัมปชัญญะและปัญญาเจตสิกแท้ที่จริงนั้นเป็นธรรมตัวเดียวกัน สัมปชัญญะ มีองค์ธรรม คือ ปัญญาเจตสิก ด้วยอำนาจปัจจัยแล้วสัมปชัญญะก็ คือปัญญาเจตสิกแต่ยังมีกาลังอ่อนอยู่ เมื่อพัฒนาหรือมีกาลังแก่กล้าแล้ว ด้วยอำนาจปัจจัยจึงพัฒนามาเป็นปัญญาหรือปัญญาเจตสิก ดังนั้นสรุปได้ว่า สัมปชัญญะ เป็นชื่อของความรู้สึกตัวที่เกิดขึ้นจากการกำหนดรูปนามที่กาลังปรากฏอยู่เฉพาะหน้า เรียกว่า ปัญญาในสัมปชัญญะ, ส่วนปัญญาหรือปัญญาเจตสิก คือ ปัญญาที่เห็นแจ้งตามสภาวธรรมตามความเป็นจริงของสามัญลักษณะ ได้แก่ ไตรลักษณ์ของรูปนาม
          การใช้ปัญญาเจตสิกในการเจริญสติปัฎฐาน
          การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน เมื่อผู้ปฏิบัติลงมือปฏิบัติจะรู้ธรรมโดยรวมคือ รู้ปัจจุบัน รู้รูปนาม รู้พระไตรลักษณ์ผู้ปฏิบัติรู้รูปนามตามอิริยาบทน้อยใหญ่ เช่น รู้ในขณะคู้ เหยียด ก้ม เงย ยืน เดิน นั่งนอน เป็นต้น จนเกิดวิปัสสนาญาณต่าง ๆ ขึ้นมาโดยลาดับ ๆ นับตั้งแต่ญาณที่ ๑ ขึ้นไปผู้ปฏิบัติมีความเพียร ตั้งใจทำจริง ๆ มีความรู้รูปนามอยู่ทุกขณะ มีสติจดจ่อต่อรูปนามมีสติกำหนดได้ดีถี่ถ้วนตามสติปัฏฐาน ๔ ไม่บกพร่องผู้ปฏิบัติรู้อาการเคลื่อนไหวไปมาต่าง ๆ ของกายตามความเป็นจริง ไม่ยึดมั่นในรูปนามไม่เห็นผิด ไม่รู้ผิด ไม่จาผิด ไม่หลง และไม่เพลิดเพลินอยู่ในอิฏฐารมณ์ ทั้งไม่หวั่นไหวเอนเอียงในอนิฏฐารมณ์ เห็นรูปนามเป็นแต่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และเป็นอสุภะ คือ เป็นของไม่สวยงาม เป็นต้น
          เมื่อผู้ปฏิบัติได้รู้รูปนาม รู้เหตุปัจจัยของรูปนาม รู้พระไตรลักษณ์ รู้ความเกิดดับของรูปนาม รู้เฉพาะความดับไปของรูปนาม รู้ทุกข์โทษของรูปนาม เบื่อหน่ายในรูปนาม อยากหลุดพ้นไป ตั้งใจปฏิบัติอย่างเต็มที่วางเฉยต่อรูปนาม เห็นพระไตรลักษณ์อย่างชัดเจนที่สุด จิตเข้าสู่ความสงบ กิเลสก็เด็ดขาดไปจากขันธ์สันดาน ใจมีพระนิพพานเป็นอารมณ์  
          หลักสติปัฏฐาน ๔ เป็นหนทางสายเอกที่จะนาไปสู่การรู้แจ้งในสัจธรรม และเข้าถึงความจริง ซึ่งเป็นสภาวะถูกทาลายไป อันเป็นจุด มุ่งหมายของผู้ปฏิบัติ ฉะนั้น พระวิปัสสนาจารย์จึงใช้หลักสติปัฏฐาน ๔ ที่ปรากฏในมหาสติปัฏฐานสูตร ด้วยการกำหนดรู้ในกาย เวทนา จิตธรรม เป็นกรอบในการปฏิบัติและตรวจ สอบความก้าวหน้าทางจิต[๑๗]  
          ผู้ปฏิบัติมีสัมปชัญญะก็จะ รู้วิเศษในธรรม ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อลงในแนวปฏิบัติเหลือ ๑ คือ ความไม่ประมาทผู้ปฏิบัติมีสัมปชัญญะ รู้นาออกจากกองทุกข์ เช่น สังโยชน์ คือ กิเลสผูกมัดใจ ธรรม
ที่มัดใจสัตว์ไว้ในสังสารวัฎ[๑๘] ผู้ปฏิบัติมีสัมปชัญญะ ผู้นั้นจะได้รับความสุขไปตามลาดับ ๆ เช่น สุขในเมืองมนุษย์
เป็นต้น
สรุปปัญญาเจตสิกกับการเจริญสติปัฎฐาน
          ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ พบว่า การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน ๔ คือ
๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การกาหนดพิจารณาใน กาย อยู่เนื่อง ๆ เป็นเหตุให้อสุภลักษณะ ปรากฏเกิดขึ้น และในขณะเดียวกัน ย่อมประหาณ สุภวิปลาส ให้หมดไป
๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การกาหนดพิจารณาใน เวทนา อยู่เนื่อง ๆ เป็นเหตุให้ ทุกขลักษณะ ปรากฏเกิดขึ้น และในขณะเดียวกัน ย่อมประหาณ สุขวิปลาส ให้หมดไป
๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การกาหนดพิจารณาใน จิต อยู่เนื่อง ๆ เป็นเหตุให้อนิจจลักษณะ ปรากฏเกิดขึ้น และในขณะเดียวกัน ย่อมประหาณ นิจจวิปลาส ให้หมดไป
๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การกาหนดพิจารณาใน สภาพธรรม อยู่เนื่อง ๆเป็นเหตุให้ อนัตตลักษณะ ปรากฏเกิดขึ้น และในขณะเดียวกัน ย่อมประหาณ อัตตวิปลาส ให้หมดไป
          การตามรู้ในขณะเห็น ขณะได้ยิน ขณะรู้กลิ่น เป็นต้น เป็นการกาหนดรู้ โดยประเภทแห่ง ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐาน จัดเป็นการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน ๔ เช่นเดียวกัน เพราะว่าเป็นการกำหนดรู้สภาวะปรมัตถ์แห่งรูปนามการตามรู้ในอิริยาบถใหญ่ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน เมื่อจิตคิดจะยืน เดิน นั่ง นอนเกิดขึ้น (จิตตชรูป) จิตนั้นก็ยังลมให้เกิดขึ้น ลมก็ยังความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น เพราะการกระทำของจิต และเพราะความกระพือไปของวาโยธาตุ โดยปราศจากตัวตน เรา ของเรา เป็นต้นการรู้อยู่อย่างนี้ เรียกว่า การตามรู้อิริยาบถใหญ่ตามความเป็นจริง เป็นการตามรู้ขั้นปรมัตถ์อิริยาบถย่อย เกิดจากการเคลื่อนไหวไปมาของกาย เช่น ก้าวไป ถอยกลับ เหลียวซ้ายแลขวา คู้เข้า เหยียดออก เป็นต้น ในขณะที่ก้าวหรือถอย พึงตามรู้สภาวะก้าวหรือถอยระลึกรู้สภาวธรรมปัจจุบันที่ประจักษ์ในปัจจุบันขณะ เมื่อวิปัสสนาญาณมีกาลังมากขึ้นจะรับรู้ถึงจิตที่ต้องการจะก้าวหรือถอยพร้อมทั้งสภาวะก้าวหรือถอยที่เป็นสภาวะเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน โดยปราศจากตัวตน เรา ของเรา.
          การเจริญสติปัฏฐานนั้น อาตาปี สัมปชาโน สติมา หรือ ความเพียร สัมปชัญญะ สติทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์กรรมฐาน คือ กาย เวทนา จิต ธรรม (รูป-นาม), สัมปชาโน หรือ
สัมปชัญญะ มีองค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิก หรือ เป็นปัญญาที่ในสัมปชัญญะ ๔, ทำหน้าที่เป็นปัญญา ธรรมทั้งสามเมื่อสรุปลงแล้วคือ ศีล สมาธิ ปัญญา จะเห็นได้ว่าสัมปชัญญะและปัญญาเจตสิกเป็นธรรมอันเดียวกัน ด้วยอานาจปัจจัยแล้วสัมปชัญญะก็ คือ ปัญญาเจตสิกแต่ยังมีกาลังอ่อนอยู่ เมื่อพัฒนาหรือมีกาลังแก่กล้าแล้ว จึงพัฒนามาเป็นปัญญา ดังนั้นสรุปได้ว่า สัมปชัญญะเป็นชื่อของปัญญา คือ ความรู้สึกตัวที่เกิดขึ้นจากการกำหนดรู้รูปนามที่กาลังปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเป็นอารมณ์ (อารมณ์ปัจจุบัน) ส่วนปัญญาหรือปัญญาเจตสิก คือ ธรรมชาติที่เห็นแจ้งตามสภาวธรรมตามความเป็นจริง, ธรรมทั้งสองทากิจหน้าที่เดียวกันคือ คือ รู้ปัจจุบัน, รู้รูปนาม, รู้พระไตรลักษณ์ รู้มรรค ผล นิพพาน ดังนี้.....



[๑] พระอาจารย์ไชโย อาสโภ, อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑,,๖ จิต เจตสิ รูป นิพพาน,(กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ที่ โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๕), หน้า ๑๑๔.
[๒] ม.ม. (ไทย) ๑๓/๒๔๗/๒๙๒.
[๓] องฺ.ฉกฺก. (ไทย) ๒๒/๓/๔๑๕.
[๔] องฺ.จตุกก. (ไทย) ๒๑/๒๖/๒๙๐.
[๕] องฺ.ทุก. (ไทย) ๒๐/๓๔/๑๘๗.
[๖] สํ .ม. (ไทย) ๑๙/๑๘๒/๑๐๙.
[๗] ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๒๙/๒๕๘.
[๘] ขุ.อิติ. (ไทย) ๒๕/๑๖/๓๖๐.
[๙] รรณสิทธิ ไวทยะเสวี, คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๒ ชื่อ เจตสิกสังคหวิภาค,
พิมพ์ครั้งที่ ๖, หน้า ๙.
[๑๐] พระพุทธโฆสเถระ รจนา, คัมภีร์วิสุทธิมรรค, สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและ
เรียบเรียง, พิมพ์ครั้งที่ ๖, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธนาเพรส จากัด, ๒๕๔๙), หน้า ๗๓๓.
[๑๑] พระพุทธโฆสาจารย์ รจนา, พระวิสุทธิมัคคปกรณ์, ภาค ๓ อาจารย์สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ.๙ แปล, พิมพ์
ครั้งแรก (กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธนาเพรส, ๒๕๕๔), หน้า ๕ ๖.
[๑๒] พระพุทธโฆสเถระ รจนา, คัมภีร์วิสุทธิมรรค, สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและ
เรียบเรียง, หน้า ๗๓๕-๗๓๖.
[๑๓] พระพุทธโฆสาจารย์ รจนา, พระวิสุทธิมัคคปกรณ์ ภาค ๓,อาจารย์สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ.๙ แปล, หน้า
๙.
[๑๔] ดูรายละเอียดใน พระอาจารย์ไชโย อาสโภ, อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑,,๖ จิต เจตสิ รูปนิพพาน, หน้า ๔๒-๔๔.
[๑๕] เล่มเดียวกัน, หน้า ๓๘.
[๑๖] พระธรรมธีรราชมุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙), วิปัสสนากรรมฐาน, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง, ๒๕๕๔), หน้า ๙๑.
[๑๗] อัษฎางค์ สุวรรณมิสสระ, “ศึกษาไตรลักษณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน ๔ :เฉพาะกรณี การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ๗ เดือน”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๑), หน้า (ก).
[๑๘] พัชรินทร์ พรชัยสาเร็จผล, “ศึกษาสังโยชน์ในการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน ๔ : เฉพาะกรณี การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ๗ เดือน”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒), หน้า (ก).

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น