วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกประสบการณ์และสภาวธรรม

บันทึกประสบการณ์และสภาวธรรม
ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรม “ ธรรมโมลี” ต.หนองน้ำแดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
ระหว่างวันที่  ๒๐ มิถุนายน-๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

๑๙  มิ.ย. ๒๕๕๖.
         เดินทางถึง ศูนย์ปฏิบัติธรรม “ธรรมโมลี”  เวลา ๑๓.๔๕ นฯ.  หลังจากจัดสถานที่เก็บ สำภาระเข้าตู้เรียบร้อยแล้ว ก็ออกสำรวจศูนย์ปฏิบัติธรรมฯ รับรู้ถึงบรรยายกาศที่ร่มรื่น สัปปายะในสถานที่ และมีความรู้สึกศรัทธา ในพระเดชพระคุณเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ จากเดิมที่มีความเคารพศรัทธามากอยู่แล้ว ว่าท่านได้มีคุณูปการในการสืบทอดอายุกาลพระพุทธศาสนา  โดยจัดให้สถานปฏิบัติธรรม และจัดหลักสูตรการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาที่ถูกต้องถูกธรรม ถือเป็นบุญกุศลของข้าพเจ้า ที่ได้มาปฏิบัติธรรมทดสอบศรัทธา ๑ เดือน ก่อนเข้าศึกษาหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม  ซึ่งก่อนที่จะไปสมัครเรียนนั้นข้าพเจ้ามีเพียงศรัทธา ในการปฏิบัติของครูอาจารย์(รุ่นพี่) ที่ท่านได้เข้ารับการศึกษาจากวิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส ได้เห็นปฎิปทาหลายๆท่านในการปฏิบัติ จึงเกิดความเลื่อมใส และลึกๆในใจแล้ว ข้าพเจ้าอยากเป็นพระวิปัสสนาจารย์(คิดว่าคง เท่ห์น่าดู และอยากเก่งกว่ารุ่นพี่เพราะบางรูปที่สอนในขณะปฏิบัติ ๑๐ วันตามข้อปฏิบัติของมหาวิทยาลัย ในความรู้สึกของตนเอง เหมือนยังไม่เต็มที่...หรือท่านได้แค่นั้นก็ไม่รู้?)  ..แต่หลังจากมาถึงแล้ว ได้ปฏิบัติไปซักพักแล้ว ความคิดเหล่านั้นก็เปลี่ยนไป.. เกิดคำถามขึ้นมาในใจขึ้นมามากมายมีทั้งดีไม่ดี  มาทำไม?  ทำไมลำบากอย่างนี้?.พระวิปัสนาจารย์พูดไม่เข้าหู . บางทีก็ชอบเรามาถูกทางแล้ว .๑๐กว่าปีเราไปอยู่ไหน มา?พระวิปัสนาจารย์ปลุกเร้าอารมณ์ดีจังเลย ตอนที่เราปฎิบัติ ๑๐ ตามหลักสูตร ถ้าได้พระวิปัสสนาจารย์ ดีๆแบบนี้ป่าน เราคงไปถึง ไหนๆแล้ว  ไม่แน่อาจมีบรรลุ  มีทุกอารมณ์...ตอนนี้นอกมีศรัทธาแล้ว ฉันทะ วิริยะ ของข้าพเจ้า มาเต็ม...
เริ่มปฎิบัติ ๒๐ มิ.ย. ๕๖ ๑๓.๐๐น.
            หลังจากที่พระเดชพระคุณเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ มาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการปฎิบัติธรรมฯ ในช่วงเช้า ในภาคบ่าย พระอาจารย์พระครูปลัดสัมพิพัฒนธรรมาจารย์ พระวิปัสสนาจารย์ผู้รับผิชอบโครงการฯ ท่านแนะนำระเบียบวิธีปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน พร้อมกับนำ­ขอพระกัมมัฏฐาน โดยมี “พระครูวิสุทธิวรญาญ” เจ้าอาวาสวัดสามง่าม จังหวัดนนทบุรี เป็นพระอาจารย์ให้พระกัมมัฎฐาน  หลังจากฟังธรรมจากพระครูฯ โดยเนื้อหาที่ท่านแสดงก็เป็นการให้กำลังใจปลุกเร้าโดยการเล่าประสบการณ์ในการปฏิบัติของท่าน และสุดท้ายท่านเน้นเรื่อง การเพาะบ่มอินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ให้แก่กล้า เพราะบุคคล จะปฏิบัติธรรมให้สำเร็จได้ต้องมีอินทรีย์ทีเข้มข้นก่อน ..
            พระครูปลัดสัมพิพัฒนธรรมาจารย์ ท่านให้ระเบียบข้อบังคับของสำนักปฏิบัติว่า เริ่มต้นต้องปฏิบัติบัลลังค์ละ ๑ ชั่วโมง คือ เดินจงกรม ๑ ชั่วโมง นั่ง ๑ ชั่วโมง โดยเดินจงกรมก่อน ท่านสอนหลักปฏิบัติในการเดินจงกรมคือ ต้องมีสติกำหนดทุกขณะในการ ย่าง เหยียบ โดยนับตั้งแต่รับพระกรรมฐาน เดินกลับที่ พัก กำหนดเดินช้าๆ อย่างมีสติ การเดินจงกรมทุกระยะ  ก่อนเดินให้กำหนดต้นจิต ว่า “อยากเดิน หนอๆ” แล้วค่อยๆย่างเท้า โดยก้าวเท้า ขวาก่อน สติเพ่งกำหนดที่เท้าขวา กำหนด ว่า “ขวาย่างหนอ”คำบริกรรมกับการย่าง เท้าต้อง พอดี ไม่ก่อนไม่หลัง เท้า ต้องลงพร้อมกันกับ “หนอ”  ไม่ใช่ปลายเท้าหรือส้นเท้าลงแต่เหยียบลง เต็มเท้าพร้อมกับ “หนอ” เท้าซ้ายก็เช่นกัน....
            ในขณะปฎิบัติ(เดินจงกรม)ในช่วงแรกๆ หลังจากรับพระกรรมฐานและคำแนะนำจากพระอาจารย์ อริยาบทยืน: กำหนดรูปยืนเต็มตัวคือรู้รูปยืนตลอดศรีษะจรดปลายเท้ากำหนดรูป ยืน ๓ ครั้ง “ยืนหนอๆ” รู้สึกร่าง โอนเอน (หลับตา) เหมือนจะล้มด้านข้าง กำหนดเดิน ระยะที่ ๑ กำหนดเท้าขวา ย่าง ก้าวออกพร้อม บริกรรม “หนอ”พร้อมกับเหยียบลงเต็มเท้า ทำความรู้สึกอยู่กะการเดินอยู่ระยะ หนึ่ง มีเสียงด้ง จากข้างล่างมาก รู้สึก รำคาญ ก็กำหนด แต่ไม่หาย หรอกก็เดินๆไปจนครบ ชั่วโมง...
            กราบสติปัฎฐาน
         เพื่อเป็นการน้อมนำจิต เป็นการรวมจิตให้มีกำลัง หรือเป็นการให้กำลังใจกับต้วเอง อะไรทำนองนั้น พระวิปัสสนาจารย์ ท่านแนะนำให้ กราบสติปัฎฐาน คือการกราบแบบช้าๆ อย่างมีสติๆ เป็นจังหวะขั้นมีตอน ซึ่ง ผู้ปฎิบัติเองก็เคเรียนการกราบแบบนี้อยู่ในสมัยเรียน ป.ตรี แต่ก็กราบๆไปงั้นแหละเรียกว่ากราบเอาคะแนน ตอนนั้นรู้สึก ฝืนๆ ขำๆ นึกดูแคลน พระอาจารย์ประจำวิชาอยู่ว่า สอนอะไร มาสอนกราบ ก็เรากราบเป็นมาตั้งแต่ ป.๖ แลัว ชนะเลิศการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ด้วยซ้ำ  แต่ก็ดี พอได้มาปฎิบัติ ที่สำนักธรรมโมลี ก็ไม่เก้อเขิน และได้ความรู้เพิ่ม โดย พระอาจารย์ท่านได้ให้ความรู้ว่า “ ก่อนเริ่มปฎิบัตินั้น โยคี ผู้ปฎิบัติพึง กราบสติปัฎฐานก่อนทุกครั้ง เพื่อเป็นการน้อมจิตให้อยู่ กะปัจจุบันอารมณ์ ในการกำหนดสติปัฎฐาน ๔ กราบอย่างมีสติ รู้อาการทุกขณะ เป็นการสำรวมอริยาบท สติระรึกถึงอาการของรูปนาม ในการเจริญสติ เป็นการกำหนดอิริยาบทใหญ่ อิริยาบทย่อยได้ดี เป็นการเพิ่มกำลังความเพียร เพิ่มกำลังสติ เพิ่มกำลังสมาธิ เมื่อมีการกำหนดอยา่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน รูปนาม หริอกายใจ ใด้ปรากฏชัดเจน และพิจารณาไตรลักษณ์ๆก็จะปรากฎขึ้นตามลำดับ จากนั้นก็สามารถเห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ เกิดขึ้น...”
         ความรู้สึกในการกราบสติฯ ครั้งแรกโดยการแบบพม่า  มันร้าวในอก จุก เหมือนจะ อาเจียน โห มันยากเหมือนกันแฮะในการกราบแบบถูกวิธี แต่หากทำต่อๆ ช้าๆมาครั้ง สอง สาม ความรู้สึกชัดขึ้น (คือ เจ็บ จุกชัดขึ้น ) กำหนดไม่ทัน ต้องหยุด แต่ปลอบใจตัวเอง ว่าครั้งต่อไปต่อดีขึ้น ถ้าเราทำบ่อยๆ ก็คงหาย เจ็บร่างกายเรายังไม่เข้าที่         
         ฟังธรรม เรื่อง วิสุทธิ ๗ และ อินทรีย์ ๕   
         คืนวันที่ ๒๑ มิ.ย. ๕๖  หลังจาก ทำวัตร เสร็จมีการแสดงธรรมโดยพระครูปลัดสัมพิพัฒนธรรมาจารย์ เป็นองค์ แสดง ท่านก็ให้กำลังใจืโยคีผู้ปฏิบัติ และเล่าประสบการณ์การปฎิบัติของท่านเล็กน้อย แล้วแสดงวิสุทธิ ๗ ข้อแรก เรื่อง ศีลวิสุทธิ และ อินทรย์๕ ข้อต้นคือศรัทธา โดยสรุปความว่าสำหรับผู้ปฎิธรรมพึงทำตนให้หมดจด ทำตนให้เป็นดั่งภาชนะทอง อันหมดจดพร้อมจะรับธรรมโอสถ  เพราะธรรมมะเปรียบเหมือนอาหารที่พร้อม เสริฟ แต่หากภาชนะของผู้รับไม่สะอาด ( ความกังวล สงสัย เครือบแคลง ในพระวิปัสนาจารย์) อาหารนั้นย่อมเป็นผิด ต่อผู้ปฎิบัติ ..  ดั่งนางมาคันฑิยา ที่รับอาหารธรรมจากพระพุทธเจ้า แล้วมีปฎิฆะ กะพระพุทธเจ้ายังผลให้นางมาคันฑิยา อาฆาต มาดร้ายต่อพระพุทธเจ้าจนตัวตาย แต่ในทางกลับกัน ธรรม อันเดียวกันนั้นก็ ยังผลให้บิดาและมารดา ของนาง บรรลุธรรมอาจเป็นเพราะอินทรีย์ของบิดามารดาของนางถึงพร้อม
ดังนั้นบุคคลพึงเตรียมภาชนะให้สะอาดพร้อมที่จะรับอาหารธรรม เปรียบเหมือนบุคคลจะบรรลุธรรม ต้องบ่มเพาะอินทรีย์ให้แข็งกล้า    อันนี้ข้าพเจ้าเห็นด้วยเพราะตนเองประสบมา ในตอนมี่เรียนบาลี อาจารย์ที่สอนเป็นพระเพื่อนกันอายุน้อยกว่า  นั่งต่อแบบพร้อมกะสามเณร โดน ดุ ต่างๆ นาๆ(ในห้องเรียน) เรียนกันมา ๕ ปี  ไม่เคยสอบตกบาลีเลย เพราะข้าพเจ้ารู้หน้าที่ ในห้องเรียนข้าพเจ้าเป็นนักเรียน พระอาจารย์ที่สอนก็เช่นกันต่างคนมีหน้าที่และทำหน้าที่กันไป ท่านเป็นกัลยามิตรให้ข้าพเจ้า ๆก็ตั้งใจปฎิบัติและทำตามที่ท่านบอกสอน และข้าพเจ้าก็ประพฤติตนเช่นนี้ตลอด (อันนี่ขอชมตัวเอง)...   
              “ศรัทธา เกิดจากการฟัง คือ ปรโตโฆสะ และมีโยนิโสมนสิการ: ศรัทธาต้องมีต่อ สัตบุรุษเท่านั้น ..แต่ หาก ศรัทธานั้น มีต่ออสัตบุรษบุคคลนั้นก็อาจจะเป็นเช่นองคุลีมาล”(พระครูปลัดสัมพิพัฒนธรรมาจารย์ :แสดงธรรม ณ สำนักปฎิบัติธรรมโมลี ๒๑/มิ.ย. ๕๖)
๒๒ มิ.ย. ๕๖
(เช้า) เดินจงกรม ๑ ชั่วโมง : ช่วงต้น ประมาณ ๑๐นาทีแรก เดินระยะที่๑ มีอาการง่วง,มึนๆที่ศรีษะ กำหนด ไม่หาย ไม่ได้หยุดเดินขณะกำหนด ช่วงกลางเดินระยะที่ ๒ ยกหนอ เหยียบหนอ รู้สึกหน่องตึง ขาสั่น กำหนด ลำบากคอยจะหลง เหมือนจะล้มต้องหยุดยืน กำหนดอ ในช่วงปลายเดินระยะที่ ๓ ประมาณ ๔๐นาที  ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ  กำหนดได้บ้าง หลงเท้าขวาซ้ายบ้าง กำหนดเดินจนหมดบัลลังค์
นั่ง ๑ ชั่วโมง : ช่วงต้น กำหนดพองยุบไม่ชัด ไม่เห็นเลยก็ว่า ลักษณะที่ข้าพเจ้าเคย กำหนดพอง ยุบคือ หายใจเข้าท้องพอง กำหนดพองหนอ  หายใจออก ท้องยุบ ก็กำหนด ยุบหนอ แล้วนิ่ง เฉยๆ ภายหลังส่งอารมณ์กับพระวิปัสนาจารย์ท่านบอกว่า ไอ้ที่เรากำหนดนั่นคือ อารมณ์สมถะ (แต่มันนิ่งจริงๆนะ) แต่ก็ไม่รู้หรอกในช่วง ๓ วันแรกยังไม่ได้ส่งอารมณ์ แม้พระมหาวิชัย พระวิปัสนาจารย์ ท่านมาบรรยายธรรมในภาคค่ำของ วันเดียวกัน ในเรื่อง “พองยุบ ไม่เกี่ยวกับลม หรือหายใจเข้าออก เพราะลมที่อยู่ในร่างเรามีตั้ง ๖ ชนิด การบังคับลมไม่เป็นวิปัสสนา “ กระนั้นข้าพเจ้ายังกำหนดลมหายใจเข้าออกอยู่ และยังเข้าใจ ว่านั่นคือ พองยุบ
 ๒๕​ มิ.ย. ส่งอารมณ์ (นับหนึ่งใหม่ )
            ปฎิบัติมา ๔ วัน เดิน นั่ง ครบบัลลังค์ ฟังธรรมไม่เคยหลบ นั่ง๑ชั่วโมงไม่เคยปวด ไม่เคยเจ็บ มีชาๆตามก้นย้อยหน่อยๆท้ายชั่วโมง เดินจงกรมปฎิบัติตามพระอาจารย์แนะนำตลอด กำหนด ขวาย่างหนอ ซ้ายหนอ  ยก ย่าง เหยียบ ก็กำหนด พร้อมพอดี  อาการหรือสภาวะก็คล้ายกัน (ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า) คือ รูปยืน ก็กำหนดได้ เดินก็ รู้อาการ ยก ย่างเหยียบ มึนงงก็รู้  ผ่าเท้า เจ็บก็รู้ หมดบัลลังค์ก็จดสภาวะ ตั่งแต่ วันเริ่มปฎิบัติ วันที่ ๒๓ ลงปาฎิโมกข์ ช่วงบ่าย เดินขึ้นเขาก็กำหนด แต่ในช่วงนั้นยังไม่มีการ สอบอารมณ์เหตุ เพราะว่าพระวิปัสนาจารย์ ยังมาไม่ครบ พระอาจารย์พระครูปลัดฯท่านเลยไม่เรียกสอบ.
            ๙.๓๐น. ลงไปส่งอารมณ์กับท่านพระครูปลัดฯ ท่านก็ถามว่า เคยปฎิบัติอะไรมา พุทโธ หรือพองยุบ ปฎิบัติมา นานเท่าไหร่ ?ก็ตอบท่านว่า ก็ปฎิบัติตามหลักสูตร ของมหาวิทยาลัย คือ พอง ยุบ   : เห็นพองยุบหรือเปล่า กำหนดอย่างไร ? มีทุกข์เวทนา เช่น ปวด ชาหรือเปล่า ก็บอกท่านตามความเป็นจริง คือ ไม่เห็นพองยุบ บางทีก็บังคับลม เพื่อจะเห็นพองยุบ เวทนา ไม่ปรากฎคือนั่น ๑ ชั่วโมง ไม่ปวดเลย ตลอด ๔ วัน  ท่านแนะนำว่า ให้กำหนด นั่งหนอ ถูกหนอ โดยกำหนดที่ กันย้อยที่ถนัดคือตรงที่สัมผัสชัดๆ และถูกหนอให้กำหนดที่ มือสัมผัส ไม่ต้องสนใจลม หายใจ หรือบังคับลมหายใจ ท่านไม่ได้บอกว่าเรา สิ่งที่เราปฎิบัตินั่น เป็นอารมณ์ของสมถะ แต่ท่านบอกว่าให้เรา “รู้ตามความเป็นจริง” ไม่ใช่อยากรู้  หาพองยุบไม่ต้อง ใส่หนอ นอกจากนั้นท่านยังบอกเทคนิค ในการทำวิปัสสนา คือ เมตตาภาวนา ก่อนนั่งทุกครั้ง หลังจากกราบสติแล้ว ให้น้อมจิตน้อมใจ ระลึกนึกถึงคุณงามความดี ที่เราได้ประพฤติปฎิบัติมา แล้วตั้งสัจจะอธิษฐาน แผ่กุศล ไปยังบุคคลที่เป็นที่รักทั้งหลายไม่มีประมาณ  เวลากำหนดก็กำหนดที่จิต ไม่ใช่ท่อง ให้กำหนด อิริยาบทย่อย ให้มากๆ คือ อยากลุก  อยากนั่ง  อยากจับ อยากเปิด และสำคัญที่สุด คือ ในเวลาพิจารณา ฉันภัตตาหาร ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กำหนดยากที่สุด  “การเดินจงกรม ท่านให้ ขึ้นระยะที่ ๔”
            ช่วงบ่าย ; เริ่มเดินระยะที่ ๔ (ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ) กำหนดอิริยาบทย่อย ทุกขณะ
            หลังจากส่งอารมณ์ รับคำแนะนำพระวิปัสนาจารย์ มาปฎิบัติ คือกำหนดอิริยาบทย่อย เข็มข้น เริ่มจากการเดินเข้าฉันภัตตาหาร “เห็นหนอ อยากตัก หนอ ตักหนอ มาหนอ   ใส่หนอ อมหนอ อยากเคี้ยวหนอ เคี้ยวหนอๆ อยากกลืนหนอ กลืนหนอ  ตลอดทั้งการเดินเข้าที่พัก ไปห้องน้ำ ก็กำหนด  บางคราวก็ลืม บ้างก็กำหนดใหม่
 (ยังมีต่อ)...

            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น